เมนู
  • หน้าหลัก
  • ข่าว
    • การประชุม
    • ชนิดพันธุ์ใหม่
    • สาระน่ารู้
  • วิดีโอกิจกรรม
  • นโยบาย
    • นโยบายป่าไม้แห่งชาติ
    • ยุทธศาสตร์
    • คณะกรรมการ
  • กฎหมาย
  • อนุสัญญา
    • อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
    • โปรแกรมงานความหลากหลายทางชีวภาพป่าไม้
    • การเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์
  • พื้นที่ป่าไม้
    • ป่าสงวนแห่งชาติ
    • ป่าชุมชน
    • ป่าปลูก
    • ป่าอื่นๆ
  • สถานะความหลากหลาย
    • กลุ่มพืช
    • กลุ่มสัตว์และแมลง
    • กลุ่มจุลินทรีย์ เห็ดรา และไลเคน
  • ภูมิปัญญาด้านป่าไม้
    • คติความเชื่อ
    • ประเพณีพิธีกรรม
    • โภชนาการพื้นบ้านและการดำรงชีวิต
    • การดูแลสุขภาพพื้นบ้าน
    • เทคโนโลยีพื้นบ้าน
    • การจัดชุมชนและทรัพยากรฯ
  • การอนุรักษ์
  • การจัดการป่าไม้
    • ศูนย์เรียนรู้ความหลากหลาย
    • การท่องเที่ยว
  • เครือข่าย
  • ความร่วมมือระหว่างประเทศ
  • เสริมสร้างสมรรถนะ
    • การฝึกอบรม
    • นักอนุกรมวิธานน้อย
  • เอกสารเผยแพร่
  • ทำเนียบผู้เชี่ยวชาญ
  • หน่วยงานและองค์กร
  • เกี่ยวกับเรา
กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารความหลากหลายทางชีวภาพ กรมป่าไม้
« ปูป่า เจ้าถิ่นดินแดนใต้
ฤดูกาล…แมลงมีแสง »

นักวิจัยค้นพบ ‘ปลาไหลไฟฟ้า’ พันธุ์ใหม่ ที่ปล่อยแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 860 โวลต์! ตอกย้ำความสำคัญของการรักษาธรรมชาติ

……….ธรรมชาติยังมีอะไรที่เราไม่รู้ และรอให้เข้าไปค้นพบอีกมากมาย การรักษาธรรมชาติโดยเฉพาะผืนป่า ที่ ๆ มีความหลากหลายทางชีวภาพไม่ให้ถูกทำลายจึงมีความสำคัญ
……….ล่าสุด นักวิจัยกลุ่มหนึ่งเพิ่งตีพิมพ์การค้นพบใหม่ลงในวารสาร Nature Communications ถึงการค้นพบปลาไหลไฟฟ้า 2 สายพันธุ์ใหม่ โดยสายพันธุ์หนึ่งว่ากันว่า สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยแรงดันสูงถึง 860 โวลต์ (ราวสามเท่าครึ่งของแรงดันไฟฟ้าตามครัวเรือนของไทย) แรงที่สุดเท่าที่สิ่งมีชีวิตจะทำได้ พร้อมทำลายสถิติเดิมซึ่งอยู่ที่ 650 โวลต์
……….งานวิจัยที่ว่า ทำการทดลองจากการวิเคราะห์ตัวอย่างดีเอ็นเอ 107 ตัวอย่าง ทำให้สามารถแยกประเภทของปลาไหลไฟฟ้าบริเวณป่าดิบชื้นแอมะซอน ซึ่งเคยเชื่อกันว่าบริเวณนั้นมีสายพันธุ์เดียว คือ Electrophorus electricus ไปเจออีกสายพันธุ์ใหม่ ๆ อีก 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Electrophorus voltai และ Electrophorus varii โดยปลาไหลที่ปล่อยแรงดันไฟฟ้าได้ถึง 860 โวลต์ ก็คือสายพันธุ์ Electrophorus voltai
……….ทีมนักวิจัยกลุ่มนี้ นำโดยดาวิด เดอ ซานตานา (David de Santana) ผู้ทำงานร่วมกับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของสถาบันสมิธโซเนียน เชื่อว่าปลาไหลไฟฟ้าทั้ง 3 สายพันธุ์เคยมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อหลายล้านปีก่อน
……….“ยังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่รอให้มนุษย์ไปค้นพบ บางชนิดอาจช่วยพัฒนาตัวยาใหม่ ๆ ในการรักษาโรค คือช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้” ทีมนักวิจัยให้เหตุผลว่า ทำไมเราจึงควรช่วยกันรักษาธรรมชาติ โดยเฉพาะผืนป่าเอาไว้
ที่มา : https://thematter.co/brief/brief-1568268000/84936

This entry was posted on Thursday, September 19th, 2019 at 14:40

Copyright 2010, Forest Biodiversity Division. All rights reserved.

Entries (RSS)